อะไรเอ่ย? ต้องต่อทุกปีห้ามมิให้ขาดต่อ นั้นก็คือ..ต่อภาษีรถประจำปี หรือบางครั้งก็ถูกเรียกว่า “ป้ายวงกลม” หรือ “ป้ายสี่เหลี่ยม” หรือ “ป้ายที่ติดหน้ากระจกรถ” นั้นแหละครับ และถ้ากำลังมองหาวิธีการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีในยุค New Normal แบบนี้ น้องสมหวังมีพิกัดต่อภาษีรถยนต์แบบฉบับอัปเดต ดังนี้
อะไรเอ่ย? ต้องต่อทุกปีห้ามมิให้ขาดต่อ นั้นก็คือ..ต่อภาษีรถประจำปี หรือบางครั้งก็ถูกเรียกว่า “ป้ายวงกลม” หรือ “ป้ายสี่เหลี่ยม” หรือ “ป้ายที่ติดหน้ากระจกรถ” นั้นแหละครับ และถ้ากำลังมองหาวิธีการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีในยุค New Normal แบบนี้ น้องสมหวังมีพิกัดต่อภาษีรถยนต์แบบฉบับอัปเดต ดังนี้
1. สำนักงานขนส่งทั่วไทย
ต่อภาษีรถยนต์ที่ไหนได้ป้ายเลยทำที่สำนักงานขนส่งใกล้บ้านก็ง่ายครับ ไม่ว่ารถของเราจะจดทะเบียนป้ายจังหวัดไหน เราก็สามารถใช้บริการข้ามจังหวัดได้ครับ เช่น ป้ายจังหวัดชลบุรีจะต่อภาษีสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1-5 ก็ได้หมดถ้าสะดวก ทั้งนี้ สำนักงานขนส่งยังมีบริการชำระภาษีรถเพื่ออำนวยความสะดวกให้เราเลือกใช้บริการ
เลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) ด้วยนะ ชนิดที่เตรียมเอกสารพร้อม จ่ายครบ จบปั๊บ ไม่ต้องลงจากรถก็ต่อภาษีได้ป้ายเลย น้องสมหวังจะบอกว่าพิกัดนี้สะดวกกับคนมีรถยนต์ต้องตรวจสภาพครับ ไม่ต้องเหนื่อยประสานงานหลายต่อ
ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) จ่ายจบผ่านแอป DLT Vehicle Tax แล้วยื่นรอรับป้ายวงกลมปุ๊บ เหมาะกับรถใหม่
เตรียมเอกสารอะไรบ้าง
สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (กรณีรถอายุเกิน 7 ปี)
วัน/เวลาให้บริการ
วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
งานทะเบียนในส่วนชำระภาษีรถ เปิดทำการเวลา 08.30 – 15.30 น.
2. ที่ทำการไปรษณีย์
บ้านใครอยู่ใกล้ไปรษณีย์ก็ง่ายครับเราสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้เช่นกัน จะต้องเตรียมหลักฐานต่อภาษีไปให้ครบเหมาะกับรถปลอดภาระเท่านั้น! ต้องเตรียมสมุดคู่มือจดทะเบียนรถเล่มจริง ตามด้วยเอกสารพ.ร.บ.รถ (ประกันรถยนต์ภาคบังคับ) ที่ยังไม่หมดอายุ สำหรับรถเก่าที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปจะต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถแนบด้วยนะ เพื่อยืนยันว่ารถของเรายังใช้งานได้ดีอยู่ มีค่าธรรมเนียม 40 บาท และได้รับใบเสร็จ แต่จะต้องรอป้ายวงกลมส่งกลับมาตามที่อยู่ที่ระบุไว้ล่ะ
เตรียมเอกสารอะไรบ้าง
สมุดคู่มือจดทะเบียนรถเล่มจริงเท่านั้น
เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (กรณีรถอายุเกิน 7 ปี)
วัน/เวลาให้บริการ
วันจันทร์ – วันศุกร์ 08.00 – 18.00 น.
วันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดชดเชย 09.00 – 17.00 น.
3. เคาท์เตอร์เซอร์วิส
อีกช่องทางต่อภาษีรถอย่างเคาท์เตอร์เซอร์วิสก็น่าสนใจและเหมาะกับคนไม่มีเวลาครับช่องทางนี้จะจัดส่งใบเสร็จและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีหรือป้ายวงกลมทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ระบุภายใน 10 วันนับจากวันที่ชำระเงิน (โดยประมาณ) แต่สามารถต่อภาษีได้เฉพาะรถยนต์ใหม่มีเล่มจริง กล่าวคือต้องเป็นรถยนต์ใหม่อายุไม่เกิน 7 ปีนะครับ
เตรียมเอกสารอะไรบ้าง
สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี) หรือสำเนา
เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์
บัตรประชาชน (เจ้าของรถ)
วัน/เวลาให้บริการ
สอบถามที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วไทย
4. ต่อภาษีรถออนไลน์
สำหรับคนมีรถใหม่ อายุไม่เกิน 7 ปี สามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์สะดวก รวดเร็ว โดยมี 2 วิธีให้เลือกครับ ได้แก่ เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก (eservice.dlt.go.th) เว็บไซต์ eservice.dlt.go.th และแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax และเราสามารถเลือกได้เองว่าจะรับเอกสารฉบับจริงทางไปรษณีย์ หรือจะมารับเองที่ตู้ Kiosk กรมการขนส่งทางบกได้นะ สามารถใช้บริการ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1-5 ทั้งนี้ น้องสมหวังต้องขอย้ำพี่ ๆ อีกครั้งว่า “รถเก่าจ่ายภาษีผ่านแอปไม่ได้นะครับ”
5. ต่อภาษีด้วยแอป mPay และ Truemoney Wallet
ดำเนินการต่อภาษีรถใหม่ผ่านแอปพลิเคชัน mPAY และ Truemoney Wallet ก็ได้ครับ เห็นว่าจะต้องเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถกระบะ) ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี และมอเตอร์ไซค์อายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันจดทะเบียนครั้งแรก
ที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 1 ปี
ไม่ถูกอายัดทะเบียน
ไม่ใช่รถที่ใช้ก๊าซ
ไม่ได้ดัดแปลงหรือแต่งรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้
หลังจากชำระภาษีรถประจำปีเรียบร้อยแล้ว รอรับเครื่องหมายการเสียภาษีและใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ ภายใน 5 วันทำการ นับจากวันชำระเงิน
เลือกพิกัดต่อภาษีรถยนต์ใกล้คุณกันได้หรือยังครับผม และก่อนจะต่อภาษีรถยนต์ทุกครั้ง น้องสมหวังขอบอกก่อนเลยว่า เพื่อไม่ให้เสียเวลาเราจะต้องเตรียมเอกสารครบถ้วนก่อนเดินทางไปต่อภาษีนะ !! เช่น ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี) อย่าลืม! ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ก่อนไปต่อภาษี และรถที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป คุณจะต้องไปตรวจสภาพ และนำใบตรวจสภาพรถยนต์ไปยื่นด้วยนะ เราสามารถตรวจสภาพรถได้ที่ตรอ. ได้ทุกสาขาครับเพียงเท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ปล. สำหรับรถยนต์ค้างชำระเกินกำหนด 3 ปี จะต้องชำระภาษีรถยนต์ที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมการขนส่งทางบก, https://www.thebangkokinsight.com/530752/
**อัปเดทข้อมูล มีนาคม 2564