เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม และการสนับสนุนกิจกรรมทางสังคม สุดปัง! กับความรู้ทางการเงินฉบับที่เข้าใจง๊าย ง่าย ที่ใคร ๆ ก็เข้าถึงได้ กับกิจกรรมฉลาดเก็บฉลาดใช้ ประจำปี 2022 #ชีวิตวิถีใหม่รู้ไว้ไม่เสี่ยง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการให้ความรู้ทางการเงิน โดย บมจ. ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (กลุ่มทิสโก้) ครับผม
ฉลาดเก็บฉลาดใช้
ตอนที่ 1 วิธีจัดการเงินให้พอใช้ ง่ายนิดเดียว
งือ… งะ งะ เงินไม่พอใช้ทำไงดีหนอ ??? มาดูวิธีจัดการเงินให้พอใช้ ดังนี้
- จดบันทึกรายรับ-รายจ่าย ช่วยอุดรูรั่วทางการเงิน ตัดรายจ่ายฟุ่มเฟือยได้ครับ
- ออมก่อนใช้ หักเก็บไปก่อน แล้วค่อยใช้นะครับ จะช่วยให้สุขภาพการเงินของเราดีขึ้น
- แบ่งรายรับเป็นสัดส่วน เช่น รายจ่ายจำเป็น 50% เงินออม 25% หาความรู้ 10% เพื่ออนาคต 5% ให้รางวัลตัวเอง 5% แบ่งปัน 5% นี่เป็นตัวอย่างนะครับ
ทั้งหมดวิธีการจัดการเงิน ๆ ทอง ๆ แบบคร่าว ๆ ที่พี่สามารถนำไปปรับใช้ได้คร้าบ
ตอนที่ 2 โชคดี! ที่มีเงินออมฉุกเฉิน
เก็บออมวันนี้ สบายวันหน้า… เราควรเตรียมเงินออมฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน ปัจจัยเงินออมฉุกเฉิน ก็ขึ้นอยู่กับสไตล์การใช้ชีวิตนะครับ
- รายได้ ถ้ามีรายได้ไม่แน่นอน ควรเตรียมเงินออมฉุกเฉินให้มากที่สุด
- รายจ่าย หากมีภาระเยอะ ยิ่งต้องเตรียมเงินออมฉุกเฉินให้เยอะไว้ก่อน อย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน
- ทรัพย์สินที่มี ลองสำรวจครับว่า ทรัพย์สินที่เรามี เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วแค่ไหน ถ้าเรามีทรัพย์สินส่วนนี้ก็ช่วยลดเงินออมฉุกเฉินได้บ้างครับ
- ปัจจัยอื่น ๆ เช่น มีโรคประจำตัว เราควรมีเงินออมฉุกเฉิน หรือทำประกันสุขภาพเอาไว้ เพื่อรองรับค่าใช้จ่าย
หากยังไม่เห็นภาพเท่าไหร่ ลองอ่านตัวอย่างนี้ได้ครับพี่ เรามีค่าใช้จ่าย ประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน ก็จะต้องวางแผนเก็บออมเงินให้ได้อย่างน้อย ๆ 30,000-60,000 บาท เอาเป็นว่า ลองคำนวณให้ดี ว่าเราจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ แล้วเก็บออมก่อนใช้จ่ายนะครับผม
ตอนที่ 3 ยึดให้มั่น กฎ 3 ไม่
ยุคนี้จะทำอะไรต้องระวังไว้ก่อนนะครับ น้องสมหวังคาถายึดให้มั่น! กฎ 3 ไม่ ป้องกันภัยจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จำง่าย ๆ ตามนี้
- ไม่กด เมื่อได้รับข้อความแปลก หรือมีลิงก์แปลก ๆ ส่งมาให้กด
- ไม่บอก ข้อมูลส่วนตัว
- ไม่โอนเงิน หากไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลให้ถี่ถ้วนครับ
หากพี่พลาดท่า เสียทีถูกแก๊งมิจฉาชีพหลอก แนะนำให้รวบรวมหลักฐาน แจ้งความ ณ สถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ ติดต่อธนาคาร หรือโทรแจ้งสายด่วน แจ้งภัยแก๊งคอลเซนเตอร์ เบอร์โทร 1599 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ 1710 สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
ตอนที่ 4 PDPA คือ...?
ทำความรู้จัก PDPA หรือ Personal Data Protection Act ชื่อไทย พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เอาไว้คุ้มครองดูแลข้อมูลเกี่ยวกับบุคลที่สามารถระบุตัวตนได้ คำศัพท์ยอดฮิตแห่งยุค New Normal ที่มีความสำคัญมากในยุคดิจิทัล
ตอนที่ 5 วางแผนแบบสมาร์ท (SMART)
แนะนำวิธีวางแผนการเงินด้วยการตั้งเป้าหมายแบบสมาร์ท (SMART) ที่ช่วยให้เห็นความต้องการในการใช้เงิน วัดผลลัพธ์ได้จริง และสามารถคาดคะเนระยะเวลาการออมได้แบบชัดเจนไม่เลื่อนลอย
รู้ไว้เข้าใจหนี้ EP.3
ทำความเข้าใจ เป็นหนี้ยังไงให้ "ไม่จน"
รู้จักตัวเอง = รู้จักหนี้ ก่อนเป็นหนี้ เราจะต้องรู้จักและเข้าใจหนี้นะครับ ว่าแบบไหนคือหนี้ดี แบบไหนคือหนี้ไม่ดี ก่อนซื้อลองถามใจตัวเองก่อนครับว่า ว่าสิ่งใดจำเป็น หรือแค่ต้องการ..
- จำเป็น คือ การใช้จ่ายกับสิ่งที่ต้องใช้ในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย ฯลฯ รวมทั้งสิ่งที่ใช้ต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้เรา
- แค่ต้องการ คือ การใช้จ่ายกับสิ่งที่อยากได้ตามอารมณ์และความรู้สึกในขณะนั้น ถ้าไม่มี หรือไม่ได้ซื้อก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ ไม่ส่งผลอะไรกับชีวิตประจำวันของเราครับ
ลองถามคำถามเหล่านี้ก่อนซื้อ แล้วจะทำให้เราวางแผนการเงินได้ดี และมีวินัยทางการเงินมากยิ่งขึ้นครับ เพื่อให้ชีวิตเรามีสภาพคล่องทางการเงิน ผมขอแนะนำว่า เราไม่ควรไม่ควรก่อหนี้เกิน 40% ของรายได้ต่อเดือนครับ